ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' น้ำดอกไม้ ๓ '

    น้ำดอกไม้ ๓  หมายถึง น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidaeลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรงตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลําตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าเทา เช่น ชนิด S. forsteriหรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata บ้างมีบั้งทอดขวางลําตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello และ S. putnamiaeบ้างก็มีจุดหรือแต้มดํา เช่น ชนิด S. barracuda ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่๓๐–๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • น้ำดับไฟ

    น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Gouania วงศ์ Rhamnaceae คือ ชนิดG. javanica Miq. ใบมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกสีเขียวอ่อน และชนิดG. leptostachya DC. ใบเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเขียว.

  • น้ำตะกู, น้ำตะโก

    น. กระดาษที่มีสีเหลืองอย่างสีทองคํา นิยมนํามาใช้สลักปรุเป็นลวดลายหรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการชั่วคราว เรียกว่า กระดาษนํ้าตะกูหรือ กระดาษนํ้าตะโก.

  • น้ำตะกู, น้ำตะโก

    น. กระดาษที่มีสีเหลืองอย่างสีทองคํา นิยมนํามาใช้สลักปรุเป็นลวดลายหรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการชั่วคราว เรียกว่า กระดาษนํ้าตะกูหรือ กระดาษนํ้าตะโก.

  • น้ำตาลจีน

    น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. เดิมเรียกนํ้าตาลทรายจีน.

  • น้ำเต้า

    น. (๑) ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl. ในวงศ์Cucurbitaceae อยู่ในจําพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้งใช้เป็นภาชนะได้; อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า;ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือ ฝัดลูกบาศก์ซึ่งมี๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง. (๒) โกฐนํ้าเต้า. (ดู โกฐนํ้าเต้า ที่ โกฐ).

  • น้ำไทย

    น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa acuminata Colla ผลรูปรีเนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน.

  • น้ำนมราชสีห์

    น. (๑) กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่นหอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุลEuphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมียางขาวคล้ายนํ้านม ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด E. hirta L. ต้นและใบมีขน.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒